ข่าว itd

“วีรศักดิ์” เผยผลศึกษาของ ไอทีดี พบควรเร่งร่วมมือกับกลุ่มประเทศบิมสเทค สร้างตลาดส่งออกใหม่ หลังวิกฤตโควิด-19 รองรับการค้าและบริการไทย

visibility 447 facebook twitter mail

“วีรศักดิ์” เผยผลศึกษาของ ไอทีดี พบควรเร่งร่วมมือกับกลุ่มประเทศบิมสเทค สร้างตลาดส่งออกใหม่ หลังวิกฤตโควิด-19 รองรับการค้าและบริการไทย

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าได้สั่งการให้ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ไอทีดี ศึกษากรอบนโยบายและทิศทางทางการค้าในกลุ่มบิมสเทค (บังกลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา ไทย สหภาพเมียนมา เนปาลและภูฎาน) เพราะหลังจากวิกฤติโควิด-19 กลุ่มประเทศบิมสเตคจะมีแนวโน้มความต้องการสินค้าและบริการจากประเทศไทยมากขึ้น โดยจากการศึกษาพบว่าขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่ม บิมสเทค (ยกเว้นประเทศไทย) พึ่งพาการบริโภคภายในประเทศเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยการบริโภคภายในประเทศคิดเป็นสัดส่วนระหว่างร้อยละ 55-70.8 ของมูลค่าผลผลิตรวมภายในประเทศ ปัจจัยภายนอกจากการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของแต่ละประเทศไม่มากนัก เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจขึ้นกับปัจจัยภายใน  เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ยังไม่ได้เปิดสู่ตลาดการค้าของโลกมากนักพิจารณาได้จากมูลค่าการส่งออกและการนำเข้าที่สูงสุดเพียงไม่เกินร้อยละ 29.9 และ 49.55. ตามลำดับ

นอกจากนี้ยังพบว่า บิมสเทคคือตลาดที่มีขนาดใหญ่ มีกำลังซื้อ มีอัตราการเจริญเติบโตสูง เป็นทั้งแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งยังมีระยะทางไม่ไกลจากประเทศไทยมีเงื่อนไขทางสังคมและวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย และทุกประเทศสมาชิกต่างก็กำลังตื่นตัวในการส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน หลังจากความไม่สงบเรียบร้อยในหลายประเทศสมาชิกได้คลี่คลายไปแล้ว

ประเทศไทยควรตระหนักว่าทรัพยากร เทคโนโลยี และองค์ความรู้ที่ไทยมีอยู่สามารถใช้พัฒนาความร่วมมือในภูมิภาคให้ก้าวไกลมากขึ้นกว่าเดิม  รวมทั้งสามารถใช้เป็นเครื่องมือเชิงนโยบายในการเสริมสร้างอิทธิพลและอำนาจละมุน (Soft power ) เพื่อผลประโยชน์ประเทศและภูมิภาค โดยการดำเนินการที่ไม่ได้ยากเกินไปกว่าความสามารถของไทย ยกตัวอย่างเช่น การให้ส่วนลดค่าธรรมเนียมสำหรับนักท่องเที่ยว การให้ทุนการศึกษา การลงทุนและการเผยแพร่องค์ความรู้ทางการค้าแก่ประชาชนของประเทศสมาชิกบิมสเทคอื่น ๆ เป็นต้น

ในการขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือ BIMSTEC นั้นปัจจัยความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันเป็นเงื่อนไขสำคัญในการผลักดันให้กรอบความร่วมมือมีความก้าวหน้า  เนื่องจากกรอบความร่วมมือบิมสเทคยังต้องพัฒนาอีกมาก การบูรณาการความร่วมมือขั้นต่อไปจำเป็นต้องอาศัยสายสัมพันธ์ระหว่างบุคคในการเปลี่ยนแปลงหรือเสริมสร้างทัศนคติที่เอื้อต่อความร่วมมือ การผสานผลประโยชน์และการก้าวข้ามความท้าทายที่ประเทศบิมสเทคจะมีร่วมกันต่อไป

“ตลาดบิมสเทคเป็นตลาดที่มีอัตราการขยายตัวสูงมาก ดังนั้นหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 สิ้นสุดลง ผู้ประกอบการไทย จึงต้องในความสำคัญกับตลาดบิมสเทคในมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า และบริการของไทย เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดในอนาคต” นายวีรศักดิ์ กล่าว

Top