รายงานวิจัย
view 1532 facebook twitter mail

การศึกษาเปรียบเทียบนโยบายและประสิทธิภาพการพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีในกลุ่ม SMEs ของประเทศสมาชิกอาเซียน

เกี่ยวกับเอกสาร

อาเซียนในฐานะองค์การความร่วมมือส่วนภูมิภาคที่ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกซึ่งเต็มไปด้วยความแตกต่างและหลากหลายทั้งในมิติของการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ส่งผลให้ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศอยู่ในระดับที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ตลอดระยะกว่า 53 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าเป็นองค์การความร่วมมือส่วนภูมิภาคที่มีพัฒนาการความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด โดยเริ่มจากการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) เพื่อการขจัดอุปสรรคทางการค้า ทั้งมาตรการที่เป็นภาษีและไม่ใช่ภาษี ตลอดจนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)

อาเซียนยังเป็นองค์การความร่วมมือส่วนภูมิภาคที่ให้ความสำคัญกับบทบาทของภาคธุรกิจเอกชน เช่น ก่อตั้งสภาหอการค้าอาเซียน (ASEAN Chambers of Commerce: ACC) เพื่อเปิดพื้นที่ให้นักธุรกิจในอาเซียนได้มีส่วนร่วมในการสะท้อนข้อเสนอแนะและข้อกังวลด้านเศรษฐกิจต่ออาเซียนและรัฐบาลประเทศสมาชิก จึงกล่าวได้ว่า อาเซียนเป็นองค์การความร่วมมือส่วนภูมิภาคมีพัฒนาการในด้านเศรษฐกิจมากที่สุดมากกว่าด้านการเมืองและสังคม

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  อาเซียนได้มีความพยายามในการปรับตัวให้เท่าทันตามการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การสร้างความร่วมมือด้านการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน การส่งเสริมการค้าเสรีกับประเทศคู่เจรจาใหม่ ๆ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การค้าดิจิทัล ฯลฯ ซึ่งประเทศสมาชิกทุกประเทศรวมถึงประเทศไทยจำเป็นต้องปรับโครงสร้างและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจภายในประเทศให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกและการขับเคลื่อนไปข้างหน้าของอาเซียน

การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและกลไกการพัฒนาความร่วมมือต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างเท่าทันตามความเปลี่ยแปลงของเศรษฐกิจโลก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาศักยภาพทางการค้าและการลงทุนให้ประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนให้เติบโตร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Top