Hot News

ITD จัดการสัมมนาเรื่อง “การส่งเสริมการลงทุนด้านอุสาหกรรม BCG ในพื้นที่ EEC”

visibility 238 facebook twitter mail

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC จัดการสัมมนาเรื่อง “การส่งเสริมการลงทุนด้านอุสาหกรรม BCG ในพื้นที่ EEC” ณ โรงแรม บางแสน เฮอริเทจ จังหวัดชลบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ที่สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ ผลักดันการมีส่วนร่วมในการวางแผนการส่งเสริมธุรกิจ BCG และคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ในทางธุรกิจของภาคเอกชนให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มตลาดเป้าหมายให้แก่ผู้ประกอบการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาผู้ประกอบการให้มีศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจากนายสุภกิจ เจริญกุล ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาให้เกียรติกล่าวเปิดการสัมมนา และได้รับเกียตริจากคุณอังศุธรย์ วสุสัณห์ ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจ BCG สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มาบรรยายพิเศษ หัวข้อ “โอกาสและความท้าทายในการส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรม BCG ในพื้นที่ EEC”

นอกจากนี้นายวิมล ปั้นคง รองผู้อำนวยการ (วิชาการ) ITD ร้อยโท ดร.พันธ์รบ ราชพงศา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาขีดความสามารถทางการค้าและการพัฒนา นายวัชฤทธิ์ บำรุงพงศ์ นักวิชาการอาวุโส  และนางสาววรัญญา ยศสาย นักวิจัยอาวุโส ร่วมนำเสนองานวิจัย “โครงการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน BCG บนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของ MSMEs” ในงานสัมมนา เรื่อง “การส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรม BCG ในพื้นที่ EEC”

จากการสัมมนาในครั้งนี้ พบว่า ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องยกระดับและผลักดันธุรกิจในระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า มีการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน และนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ เช่น กลุ่มมะม่วงกวนท่าพลับโรงสีล่างมีผลิตภัณฑ์ ”ซอสทัย” ที่นำมะม่วงมาเป็นวัตถุดิบหลักในการทำซอส อีกทั้งเม็ดและเปลือกมะม่วง ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้อีก ทำให้ในการผลิตซอสมะมวง ไม่ทิ้งขยะที่ทำลายสิ่งแวดล้อม (Zero Waste) และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรผลิตไม้กฤษณา ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการต่อยอดการแปรรูปไม้กฤษณาเป็นพัฒนาผลิตภัณฑ์กว่า 40 ชนิด ทั้งยังมีการจดทะเบียนนิติบุคคลเพื่อการส่งออกในชื่อ “หอมมีสุข” เมื่อปี 2552 ซึ่งได้มีตลาดส่งออกไปต่างประเทศ โดยทางสถาบัน และหน่วยงานร่วมจัดมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่ต้องการจะขยายตลาดผ่านนโยบายรัฐบาล โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะผู้ประกอบการเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กสามารถทำการแข่งขันในระบบตลาดได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

Top