Hot News

ITD รับลูก “สุชาติ รมช.พาณิชย์” ชงแผนเสริมแกร่ง MSMEs เสริมแกร่ง MSMEs ยานยนต์และชิ้นส่วนและแฟชั่น

visibility 34 facebook twitter mail

นายวิมล ปั้นคง รองผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ ITD เปิดเผยว่า ITD ได้รับมอบนโยบายจากนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้ประเมินศักยภาพและส่งเสริมการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศของ MSMEs ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมแฟชั่น เพื่อข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับยานยนต์และชิ้นส่วน เสนอให้ภาครัฐสนับสนุนเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับ MSMEs ช่วยพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม ช่วยเหลือด้านการเงิน ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบ ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา มุ่งสู่ความยั่งยืน มั่นใจช่วยเสริมแกร่งให้กับ MSMEs ใน 2 อุตสาหกรรมนี้

โดยนายวิมลกล่าวว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอย่างมากมาก เนื่องจากเล็งเห็นว่าอุตสาหกรรมนี้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมายาวนาน โดยประเทศไทยยังคงเป็นผู้นำการผลิตยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนและอันดับ 10 ของโลก ในปี 2565 ประเทศไทยผลิตรถยนต์ประมาณ 1.9 ล้านคัน อุตสาหกรรมนี้มีผู้ผลิตในห่วงโซ่อุปทานมากกว่า 2,500 ราย ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบการ MSMEs ที่มีการเติบโตจนถึงปี 2560 และลดลงต่อเนื่อง โดยการส่งออกในอุตสาหกรรมนี้ ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย

 ในปี 2566 มูลค่าการส่งออกสูงถึง 41,116.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าหลักที่ส่งออก คือ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ อย่างไรก็ตาม MSMEs ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนต้องเผชิญกับความท้าทาย จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะการเปลี่ยนไปสู่การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า การกีดกันทางการค้าจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ทำให้จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด

 โดยผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนไม่สามารถปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ การเสียเปรียบด้านความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุน การเผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี

ส่วนอุตสาหกรรมแฟชั่น พบว่า เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สำคัญ โดยมีการผลิตสินค้า เช่น เสื้อผ้า เครื่องหนัง และเครื่องประดับ ซึ่งวิสาหกิจส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม MSMEs แม้ว่าจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ยังเผชิญกับความท้าทายในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลกและเทคโนโลยี โดยการส่งออกสินค้าแฟชั่นมีมูลค่ากว่า 8,324 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566 เป็นการส่งออกของ MSMEs กว่า 3,094 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยต้องการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และการปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานสากล การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา (IP) เพิ่มการให้คำปรึกษาและการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ และส่งเสริมการให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาในตลาดต่างประเทศ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มโอกาศเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ

Top