เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2567 สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา หรือ ITD จัดงานสัมมนา “Trade Amidst the Climate Crisis Era” ในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid Seminar) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการค้าและการพัฒนาที่สอดรับกับบริบทสถานการณ์วิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯโดยมีนายสุภกิจ เจริญกุล ผู้อำนวยสถาบัน ให้เกียรติกล่าวเปิดงานสัมมนา
งานสัมมนานี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งจากองค์กรระหว่างประเทศและต่างประเทศ บรรยายพิเศษในประเด็นการค้าและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่
- Ms. Lucia Balogova, Deputy Head of Economic and Trade Section, EU Delegation to Thailand บรรยายพิเศษในหัวข้อ The EU’s Movement: Climate and Trade at the Frontiers
- Dr. Yose Rizal Damuri, Executive Director, Centre for Strategic and International Studies (CSIS), Indonesia บรรยายพิเศษในหัวข้อ Responding to Climate-Trade Measure: Case of Indonesia
- Mr. Aik Hoe Lim, Director of the Trade and Environment Division, World Trade Organization (WTO) บรรยายพิเศษในหัวข้อ Balancing Trade and Climate
- Mr. Yin Shao Loong, Deputy Director of Research, Khazanah Research Institute, Malaysia บรรยายพิเศษในหัวข้อ Responding to Climate-Trade Measure: Case of Malaysia
พร้อมกันนี้ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการของไทยที่มีบทบาทดำเนินงานเกี่ยวข้องกับมาตรการทางการค้าและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ร่วมการเสวนาหัวข้อ Thailand’s Way Forward: Advancing Trade Amidst Climate Change ได้แก่
- รศ.ดร.ชยันต์ ตันติวัสดาการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นางสาวกฤตยา ชุณหวิริยะกุล ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนามาตรการและกลไก กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
- นายเดชาคม บุญมา รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ดำเนินรายการโดย นายวิมล ปั้นคง รองผู้อำนวยการ (วิชาการ) ITD
ในงานสัมมนานี้ นักวิจัย ITD ได้นำเสนอผลการศึกษาวิจัยและข้อเสนอแนะเบื้องต้น โครงการแนวทางการปรับตัวรองรับมาตรการทางการค้าเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของ MSMEs เพื่อเผยแพร่งานวิจัยของ ITD สู่สาธารณะและเกิดการใช้ประโยชน์งานวิจัยอีกด้วย
การค้าท่ามกลางวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างยิ่งจากนานาประเทศและทุกภาคส่วนของไทย โดยปัจจุบันมีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งกระทบต่อการส่งออกของไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน ในด้านหนึ่งจากสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทำให้โลกต้องการการดำเนินงานที่เข้มข้นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การใช้มาตรการเกี่ยวข้องกับการค้าจึงเป็นการขับเคลื่อนเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสนับสนุนให้เกิด Green Transition ขณะเดียวกันการใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการค้าเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็เป็นประเด็นถกเถียงทั้งหลักความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกันตาม UNFCCC หลักการไม่เลือกปฏิบัติ และประเด็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมในประวัติศาสตร์ ดังนั้น จากสถานการณ์ปัจจุบันยิ่งมีความจำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวรองรับมาตรการทางการค้าเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเอง พร้อมกันนี้ ภาครัฐต้องให้ความสำคัญในการสนับสนุนการปรับตัวต่อมาตรการดังกล่าวและต้องดำเนินการหารือในเวทีนานาชาติในประเด็นด้านการค้าและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อการค้าและต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป