หลักการและเหตุผล
การอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation: TF) ถือเป็นกลไกสำคัญต่อขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ให้มีความสะดวกและเป็นธรรมด้วยการขจัดอุปสรรคข้อจำกัด ความล่าช้าและความไม่แน่นอนในการเคลื่อนย้ายสินค้าข้ามพรมแดน การลดกฎระเบียบ ขั้นตอน และกระบวนการด้านพิธีการศุลกากร การนำเข้า-ขนส่ง และการผ่านแดน การไม่เลือกปฏิบัติและการดำเนินการทางเอกสารที่โปร่งใส การใช้มาตรฐานสากล การเปลี่ยนถ่ายสินค้าโดยปราศจากโควตา เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกัน และเป็นจุดเริ่มต้นที่จะพัฒนาไปสู่โครงข่ายการผลิต (Production Networking) ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งดึงดูดการลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดการเพิ่มปริมาณการจ้างงาน และสร้างรายได้ อันเป็นกิจกรรมสำคัญของการค้าระหว่างประเทศให้ดำเนินไปด้วยความสะดวก เพื่อลดต้นทุนทางการเงิน และต้นทุนระยะเวลา และจะทำให้ผู้ประกอบการของไทยได้ประโยชน์จากการขยายการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสในการพัฒนาการค้าในภูมิภาคและอนุภูมิภาค
ดังนั้น ในยุคการแข่งขันโลกดิจิทัลและเทคโนโลยีและเกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการค้าของโลกปัจจุบันที่การค้าระหว่างประเทศมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบกับนโยบายการเปิดเสรีการค้าต่างๆ ที่ประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคต่างๆ ของโลกจะต้องเข้าร่วมทั้งในฐานะผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และนักลงทุน ดังนั้น การยกระดับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์สู่รูปแบบ E-Logistics เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจของผู้ประกอบการทั้งด้านการผลิต การบริการ การค้าการลงทุนและช่วยให้การทำธุรกรรมและกระบวนการทำงานเป็นไปอย่างอัตโนมัติ รวดเร็วและสร้างความได้เปรียบกับคู่แข่งทางการค้าได้
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation)
- เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์รูปแบบ E-Logistics ที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าใน และยกระดับผู้ประกอบการในการทำการค้าในภูมิภาคและอนุภูมิภาคเพื่อสร้างความได้เปรียบกับคู่แข่งทางการค้า
- เพื่อนำองค์ความรู้จากผลการศึกษาวิจัยที่สถาบันได้จัดทำขึ้นมาใช้ประกอบการจัดทำเนื้อหา/สาระสำคัญของข้อมูลการอบรมให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่
- เรื่อง การศึกษาโอกาสและการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าในกลุ่มประเทศ CLMVT (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย)
- เรื่อง การพัฒนากรอบความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนในระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Economic Corridor) เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาและวิชาการ ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ และนักลงทุน จำนวน 40 คน
กำหนดการ กำหนดการ_โลจิสติกส์
วันที่จัดกิจกรรม
ระหว่างวันที่ 6-7 พฤษภาคม 2564 การอบรมออนไลน์
สถานที่จัดกิจกรรม
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ/นามสกุล นายนันทวุฒิ นุ่นสพ
สำนัก นักวิชาการ (อาวุโส)
โทรศัพท์ 02 216 1894-7 #222