หลักการและเหตุผล
การอำนวยความสะดวกทางการค้าได้รับการนิยามว่าเป็น “ท่อประปาของระบบการค้าระหว่างประเทศ” เพราะได้ให้ความสำคัญกับความโปร่งใส และผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของกฎระเบียบทางการค้า โดยเฉพาะในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APAC) ที่ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการนำสินค้าผ่านแดน การจัดเตรียมการของศุลกากร และเตรียมเอกสารที่เกี่ยวกับการค้า การปล่อยสินค้าผ่านแดนและพิธีทางศุลกากร เป็นสำคัญในการอำนวยความสะดวกทางการค้า
ตามรายงานการสำรวจของ ESCAP ในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ ได้มีการชี้แนะให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีการพัฒนารูปแบบกระบวนการเพื่ออำนวยความสะดวกการค้าสำหรับผู้ประกอบการค้าผู้หญิงเป็นพิเศษ (Trade Facilitations for Women) ซึ่งจากผลรายงานได้เสนอต่อมาว่าภูมิภาคนี้ยังไม่มีแนวทางการพัฒนานโยบายสำหรับผู้หญิงเฉพาะ ไม่เหมือนที่ทวีปแอฟริการหรือทวีปอเมริกาใต้ เป็นต้น ดังนั้นโครงการการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการค้ารายย่อยตามเขตชายแดนที่ดำเนินการโดยผู้หญิงจะเป็นโครงการการพัฒนานโยบายภาครัฐและการพัฒนาองค์ความรู้ในเรื่องให้ความสะดวกด้านการค้าเฉพาะทางของรายผู้ประกอบการหญิง เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สิ่งที่ต้องทำควบคู่กับการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า คือ การบริการทางด้านโลจิสติกส์ และขนส่ง (ทางทะเล ทางถนน ทางราง) โดยบริการที่ระบุนี้หมายถึง
- บริการยกขนส่งสินค้าท่าขนส่งทางทะเล (Maritime cargo handling services)
- บริการโกดังและคลังสินค้า (Storage and warehousing services)
- บริการตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้า (Freight transport agency services)
- บริการเสริมอื่นๆ (Other auxiliary services)
- บริการจัดส่งพัสดุ (Courier services)
- บริการด้านบรรจุภัทฑ์ (Packaging services)
- บริการรับจัดการพิธีการศุลการ (Customs clearance services)
- บริการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ ไม่รวมขนส่งภายในประเทศ (International maritime freight transportation excluding cabotage)
- การปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยการเปิดเสรีบริการขนส่งทางอากาศของอาเซียน (Air freight services)
- บริการขนส่งสินค้าทางรางระหว่างประเทศ (International rail freight transport services)
- บริการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศ (International road freight transport services)
การอำนวยความสะดวกทางการค้านั้น มีการเรียกร้องให้ชาติสมาชิกอาเซียนพัฒนาและเร่งดำเนินการสร้างแผนงานอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยเริ่มจากการมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีระยะเวลาการดำเนินงานที่สอดคล้องกับการสร้างความมั่นคง โปร่งใส และมีความพร้อมสำหรับการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
จากข้อมูลดัชนีชี้วัดกระบวนการนำสินค้าผ่านชายแดนของธนาคารโลก (World Bank’s Ease of Trading Across Borders Index) จากทั่วโลก ในปี 2560 พบว่าในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 2 ในขณะที่ประเทศ สปป.ลาว อยู่ในอันดับที่ 141 จาก 198 ประเทศทั่วโลก โดยเอกสารที่ต้องใช้ในการนำเข้า-ส่งออกสินค้ามาสิงคโปร์ใช้เพียง 3 อย่าง ในขณะที่ สปป.ลาวต้องใช้เอกสารมากกว่า 10 อย่าง (ประเทศไทยใช้ 5 อย่าง) ระยะเวลาที่ใช้ในการนำเข้า – ส่งออกสินค้าของสิงคโปร์ใช้เวลาประมาณ 6 วัน ส่วนสปป.ลาวใช้เวลาประมาณ 23 วัน และระยะเวลาในการนำเข้าสินค้าของสิงคโปร์ใช้เวลา 4 วัน ส่วน สปป.ลาวและอินโดนีเซียใช้ระยะเวลาประมาณ 26 วัน ในส่วนของกลุ่มอื่นในภูมิภาคเอเชียอย่างประเทศเนปาลอยู่ในลำดับที่ 105 โดยใช้เวลาการดำเนินเรื่องเอกสารประมาณ 7 วัน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนี้ทำให้เห็นความแตกต่างทางประสิทธิภาพของกระบวนการอำนวยความสะดวกทางการค้าภายในภูมิภาคอย่างเด่นชัด ซึ่งจากข้อมูลเดียวกันนี้ ประเทศในกลุ่ม CLMV รวมถึงประเทศไทย มีผลการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับที่ยังไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าที่ควร
วัตถุประสงค์
- เพื่อนำเสนอแนวทางหลักปฏิบัติและมาตรการตัวอย่างที่เกี่ยวข้องในการอำนวยความสะดวกทางการค้าใน 4 มิติ อาทิ การค้าชายแดนของผู้ประกอบการหญิง (cross-border trade for women in CLMVT and beyond), paperless trade, การจัดการขนส่งและโลจิสติกส์ และการค้าของประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (landlocked countries) จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง
- เพื่อทบทวน อุปสรรค ปัญหาและความเข้าใจ ถึงข้อตกลงการอำนวยความสะดวกทางการค้าภายใต้กรอบ WTO ร่วมกันในระดับภูมิภาค รวมถึงการพัฒนาบุคลกรด้านขนส่งและโลจิสติกส์ในกลุ่ม CLMVT and Beyond ให้มีความรู้ความเข้าใจและมีเป้าหมายในการผลักดันธุรกิจร่วมกัน
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรและเจ้าหน้าที่ภาครัฐระดับปฏิบัติการจากกลุ่มประเทศ CLMVT และกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งรวมถึงประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (landlocked countries) และประเทศอื่นในภูมิภาคที่เป็นผู้มีหน้าที่โดยตรงหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานในขั้นตอนและกระบวนการการอำนวยความสะดวกทางการค้า
<h4เอกสารประกอบ
- กำหนดการ
- Global Value Chain and Trade Facilitation Presentationby ITD 23 Sep 2019
- Session 1 & 3, Yann Duval
- 09232019 Seamless TF and logistics
- ESCAP_ITD S.15 26.09.2019
- Session-6.3-BPA-Planning
- Session-9.1-BPA-Capturing-Modeling
- Session-9.2-BPA-Identifying-Bottlenecks
- Session-9.3-BPA-Recommending-Improvement
- Session-10-SW-Paperless-Trade-Imp
- Session-11-Digital-Trade-and-Emerging-Tech
วันที่จัดกิจกรรมและสถานที่จัดงาน
วันที่ 23-26 กันยายน 2562 ณ Meeting room A, 1st floor, United Nations Conference Centre, Bangkok, Thailand
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน
นายเก่งกาจ โชติธนญาณาธร
สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อกาค้าและการพัฒนา
โทรศัพท์ : 0 2216 1894 – 7 ต่อ 101 และ 104