หลักการและเหตุผล
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงพาณิชย์ มีพันธกิจหลักในการสร้างขีดความสามารถในการพัฒนา จัดการอบรมและค้นคว้าวิจัย สนับสนุนความร่วมมือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ตลอดทั้งเป็นศูนย์กลางในการจัดการฝึกอบรมและกิจกรรมวิชาการต่างๆ
ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการมีส่วนช่วยผู้ประกอบการขนาดกลางขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) เพื่อการพัฒนาศักยภาพธุรกิจของ SMEs ให้เกิดความยั่งยืน โดยได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการจัดกิจกรรมวิชาการภายใต้โครงการยกระดับผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มการเกษตรสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน (Smart AgriTech to the Sustainability Business Project) เพื่อมีส่วนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มการพัฒนาการเกษตรแปรรูปผลิตภัณฑ์, เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร, เกษตรอินทรีย์ ตลอดทั้งสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถมีศักยภาพและสามารถแข่งขันในตลาดระดับประเทศและตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มการพัฒนาการเกษตรแปรรูปผลิตภัณฑ์
กลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร และกลุ่มการเกษตรอินทรีย์ ให้มีองค์ความรู้ด้านการเขียนแผนธุรกิจตามแนวคิด ESG และ BCG Model อันจะสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดทางธุรกิจอย่างยั่งยืนต่อไปได้
2.2 เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านการพัฒนาสินค้าเกษตรสมัยใหม่สู่ธุรกิจ SMEs สีเขียว และเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน รวมทั้งแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศในแนวคิดธุรกิจสู่ความยั่งยืนตามแนวทาง ESG และ BCG Model แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการ ฯ
2.3 เพื่อพัฒนาและยกระดับเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มการพัฒนาการเกษตรแปรรูปผลิตภัณฑ์, กลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร และกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ให้เกิดการรวมกลุ่มและร่วมมือกันเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางธุรกิจและเกิดการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตรสีเขียวตามแนวคิด ESG และ BCG Model ต่อไป
กลุ่มเป้าหมาย
3.1 กิจกรรมที่ 1: ฝึกอบรมหลักสูตร เรื่อง “ยกระดับผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มการเกษตรสู่
การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน”
- เพศชาย/หญิง
- อายุ 18 ปีขึ้นไป
- สถานะผู้ประกอบการ พนักงาน ประธาน/สมาชิกของกลุ่มต่างๆ ที่มีความสนใจพัฒนาธุรกิจในแนวทางความยั่งยืน ดังนี้
- กลุ่มการพัฒนาการเกษตรแปรรูปผลิตภัณฑ์
- กลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร
- กลุ่มการเกษตรอินทรีย์
- กลุ่มธุรกิจเกษตรเพื่อการส่งออก
- กลุ่มตลาดจำหน่ายสินค้าเกษตร
- Smart Farmer หรือ Young Smart Farmer
- รับสมัครทีมละ 2 คน
ซึ่งมาจาก 4 ภูมิภาค ภูมิภาคอย่างน้อยครั้งละ 80 คน รวมทั้งหมดไม่น้อยกว่า 320 คน
3.2 กิจกรรมที่ 2: ศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น
ผู้ผ่านการคัดเลือกแผนธุรกิจจากกิจกรรมที่ 1 จาก 4 ภูมิภาคละ ๆ 2 คน รวมทั้งหมด 8 คน
3.3 กิจกรรมที่ 3: เสวนา “แนวทางการยกระดับผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มการเกษตรสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน” แบบ Hybrid
ผู้ประกอบการกลุ่ม SMEs กลุ่มพัฒนาการเกษตรแปรรูปผลิตภัณฑ์กลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร และกลุ่มการเกษตรอินทรีย์ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคกลุ่มอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนไม่น้อยกว่า 200 คน และผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ (Online) ไม่น้อยกว่า 250 คน รวมทั้งหมดไม่น้อยกว่า 450 คน
พื้นที่ในการดำเนินงาน
4.1 กิจกรรมที่ 1 จัดในประเทศ ดังนี้
4.1.1 จังหวัดนครศรีธรรมราช
4.1.2 จังหวัดขอนแก่น
4.1.3 จังหวัดเชียงใหม่
4.1.4 จังหวัดนครสวรรค์
4.2 กิจกรรมที่ 2 จัดการศึกษาดูงานต่างประเทศ ณ ประเทศญี่ปุ่น
4.3 กิจกรรมที่ 3 จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ระยะเวลาดำเนินการ: ตุลาคม 2567 ถึง มกราคม 2568
วันที่จัดกิจกรรม
4.1 กิจกรรมที่ 1 จัดในประเทศ ดังนี้
4.1.1 จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 11 – 12 พฤศจิกายน 2567
4.1.2 จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 18 – 19 พฤศจิกายน 2567
4.1.3 จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 28 – 29 พฤศจิกายน 2567
4.1.4 จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างวันที่ 12 – 13 ธันวาคม 2567
สถานที่จัดงาน/กิจกรรม
- โรงแรมชฎา แอท นคร จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เฮือนต้นนุ่น จังหวัดขอนแก่น
- โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่
- โรงแรมบ้านสวน รีสอร์ต จังหวัดนครสรรค์
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน
น.ส วิมลลักษณ์ วาณิชพราหมณ์
สำนัก ความร่วมมือระหว่างประเทศ
เบอร์ติดต่อ: 02-2161894-7 ต่อ 192