อบรม

การประชุมระดมความคิดเห็นในหัวข้อ Trade Facilitation for Sustainable Development: Thailand – Lao Cross Border Mapping

หลักการและเหตุผล

การอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) มีจุดประสงค์เพื่อลดต้นทุนทางธุรกรรมในการค้าและการเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างประเทศ โดยยกเลิกภาระทางด้านการบริหารจัดการและเอกสารต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น ซึ่งแต่เดิมการอำนวยความสะดวกทางการค้าเป็นเพียงความตกลงระหว่างประเทศที่ใช้เฉพาะประเทศคู่ค้าเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้องค์การการค้าโลก (WTO) ได้มีมติให้นำเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้าเข้าเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงระหว่างประเทศภายใต้องค์การการค้าโลก และมีผลใช้บังคับกับประเทศสมาชิกทุกประเทศ  อีกทั้งยังได้มีการเรียกร้องให้ชาติสมาชิกอาเซียนพัฒนาและเร่งดำเนินการสร้างแผนงานอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ให้เริ่มจากการมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีระยะเวลาการดำเนินงานที่สอดคล้องกับการสร้างความมั่นคง โปร่งใส และมีความพร้อมสำหรับการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ

การอำนวยความสะดวกทางการค้าในกลุ่มประเทศ CLMVT (กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย) ยังคงประสบปัญหาทั้งในระดับภูมิภาคและประเทศ อาทิ การจัดการภาคพื้นดินในการเคลื่อนย้ายสินค้า การขนส่งสินค้าทางเรือการจัดการเอกสารการค้าผ่านแดน การขออนุญาตนำเข้าส่งออก และการจัดเก็บค่าธรรมเนียม เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถือเป็นข้อจำกัดที่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายสินค้าในระดับภูมิภาค ดังนั้น หากฝ่ายที่มีอาณัติและความรับผิดชอบสามารถร่วมมือพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าให้มีประสิทธิภาพ จะทำให้เกิดการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง (Inclusive Economic Development)

ในส่วนของประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ได้ร่วมกันเป็นภาคีของความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross-border Transport Agreement: GMS CBTA)

โดยมีวัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมการอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างภาคีสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา จีน สปป ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม
  2. เพื่อให้กฎหมาย กฎระเบียบ กระบวนการ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารให้มีความเรียบง่ายและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อส่งเสริมการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multi-modal transport) เส้นทางภายใต้ความตกลงรวมทั้งหมด 5 เส้นทาง
  3. ซึ่งย่อมรวมถึงเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (หรือที่เรียกว่า เส้นทาง R3A) อันเป็นเส้นทางเชื่อมโยงประเทศไทย-สปป. ลาว-จีนตอนใต้ โดยความตกลง GMS CBTA ครอบคลุม 3 พิธีสารที่เกี่ยวกับการขนส่งข้ามพรมแดน โดยครอบคลุมทั้งการขนส่งการตรวจคนเข้าเมือง การศุลกากร และการกักกัน

นอกจากนี้ ทั้งไทยและ สปป.ลาว ได้ให้สัตยาบันในความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกทางการค้าภายใต้องค์การการค้าโลกเป็นลำดับประเทศที่ 20 และ 18 ตามลำดับ ซึ่งทำให้ไทยและ สปป. ลาว มีพันธะผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามความตกลงดังกล่าว ทั้งนี้  จากงานวิจัยในปี พ.ศ. 2562  ของสถาบันพบว่า สปป.ลาวยังคงประสบกับปัญหาด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าหลายประการ ทั้งในด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นอย่างเพียงพอ

การพัฒนากลไกการประสานงาน และบูรณาการระหว่างหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ การปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ การขาดบุคลากร ทรัพยากรและขีดความสามารถในการดำเนินการและอำนวยความสะดวกทางการค้าทั้งในระดับส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นการลดการทุจริตของเจ้าหน้าที่ซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นแก่ผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก ซึ่ง สปป. ลาวได้ตระหนักถึงปัญหาและมีความพยายามในการขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการอำนวยความสะดวกทางการค้าเหล่านี้

ภายใต้แผนการดำเนินงานด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าระยะที่ 2 ซึ่ง สปป. ลาวได้เริ่มมีการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานดังกล่าวอย่างจริงจัง ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ สปป. ลาว สามารถดำเนินการตามแผนงานตามที่กำหนดไว้ได้ และงานวิจัยยังพบว่า แม้ว่าไทยจะมีความพร้อมมากที่สุดในการดำเนินการด้านความสะดวกทางการค้าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศ CLMVT แต่ไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายและประเด็นทางด้านเทคนิคต่างๆ อยู่พอสมควรในการพัฒนาการอำนวยความสะดวกทางการค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นประเด็นด้านกระบวนการบางประเภทที่ยังมีความซ้ำซ้อนและซับซ้อน

การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสมบูรณ์และเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบให้มีความสอดคล้องกับบริบททางการค้าในปัจจุบัน สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะต้องส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของประเทศในภูมิภาคอย่างเร่งด่วน จึงได้จัดทำแผนงาน/โครงการ Trade Facilitation for Sustainable Development:
Thailand – Lao Cross Border Mapping ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นโครงการระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ประกอบด้วยแผนงานการสร้างความร่วมมือระหว่างไทยกับ สปป.ลาว

เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้า ณ จุดชายแดนร่วมกัน และร่วมผลักดันให้เกิดการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่เขตชายแดนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว (หนองคาย-เวียงจันทน์) เป็นกรณีตัวอย่าง ด้วยหวังว่าจะนำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาและขยายโอกาสและลู่ทางทางการค้าการลงทุนในภูมิภาคได้อย่างเต็มศักยภาพ

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) ระหว่างไทยกับ สปป. ลาว
  2. ส่งเสริมบทบาทที่เป็นจุดแข็งของไทยในด้านการปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกทางการค้า
  3. เพื่อจัดตั้งคณะทำงานร่วมด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างไทย และ สปป.ลาว
  4. เพื่อนำงานวิจัยที่สถาบันฯ ได้จัดทำขึ้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่

เรื่องการศึกษาโอกาสและการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation) ในกลุ่มประเทศ CLMVT (กัมพูชา สปป. ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม และไทย)

 

กลุ่มเป้าหมาย 

บุคลากรจากภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการ จำนวน 20 คน

 

เอกสารประกอบ 


วันที่จัดกิจกรรม:
 30 ตุลาคม 2563

สถานที่จัดกิจกรรม: โรงแรมเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร

เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ :
ชื่อ/นามสกุล นายวัชฤทธิ์  บำรุงพงศ์
สำนัก พัฒนาขีดความสามารถทางการค้าและการพัฒนา
โทรศัพท์ 0 2215 1894 ต่อ 224

การประชุมระดมความคิดเห็นในหัวข้อ Trade Facilitation for Sustainable Development: Thailand – Lao Cross Border Mapping

calendar 30 ตุลาคม 2563

time 08:00 - 17:00 น.

loation โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ

กิจกรรมนี้ได้ปิดการสำรองที่นั่งแล้ว
itd-logo-detail
เกี่ยวกับผู้จัดกิจกรรม
International Institute For Trade And Development
view 1265

calendar - 30 ตุลาคม 2563

time 08:00 - 17:00 น.

loation โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ

ติดต่อผู้จัดกิจกรรม

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา

0 2215 1894

https://www.itd.or.th

Top