หลักการและเหตุผล
สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้ความสําคัญกับการสนับสนุนให้ ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) โดยการดําเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การวางนโยบายความร่วมมือระหว่างประเทศที่ สสว. ได้ดําเนินการ ร่วมกับประเทศอาเซียนภายใต้กรอบของคณะกรรมการอาเซียนด้านวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (ASEAN Coordinating Committee on MSME: ACCASHIE) และการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs และ โครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็นในประเทศ
โดยที่ ในการดําเนินการระหว่างประเทศร่วมกับคณะกรรมการอาเซียนด้านวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (ASEAN Coordinating Committee on MSMME: ACCMSME) นั้น อาเซียนได้ระบุว่าแต่ละ ประเทศอาเซียนจะต้องพัฒนากลไกในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในการออกสู่ตลาดต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในปี 2561 – 2562 สสว. จึงได้ริเริ่มจัดทํา Born Global Business Model สําหรับ ผู้ประกอบการเพื่อเป็นแนวทางในการสรรหาช่องทางที่เหมาะสมในการออกสู่ตลาดต่างประเทศ (Entry Modes) ภายใต้ปัจจัยและทรัพยากรที่ผู้ประกอบการแต่ละรายมี ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวเป็นแนวทางการ ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ MSMEs ของอาเซียนที่สอดคล้องตามแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการ พัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอาเซียนปี 2559 – 2568 (ASEAN Strategic Action Plan for the SME Development 2016-2025)
ในด้านการจัดทํายุทธศาสตร์นําร่องสําหรับ SMEs เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบห่วงโซ่อุปทานโลก รวมถึงการสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายและโอกาสของ SMEs เข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่า (Strategic Goal : C-1-4-1 Sharing model strategies for SMEs to be integrated into the global supply chain including focused industries and opportunities for SMEs in the value chain) ซึ่งอยู่ภายใต้มิติการสนับสนุนการเข้าสู่ตลาด และการเป็นสากล (Enhance Market Access and Internationalization) ที่ไทยเป็นประเทศหลักในการดําเนินการ
ในปีนี้ สสว. จึงเห็นควรในการประยุกต์ใช้ Born Global Business Model ดังกล่าวให้กับผู้ประกอบการทั้งของไทยในวงกว้าง เพื่อให้ผู้ประกอบการ สามารถนําไปใช้ในการพัฒนาแนวทางการดําเนินธุรกิจของตนในการออกสู่ตลาดต่างประเทศได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านช่องทางในการออกสู่ตลาดต่างประเทศ (Entry Modes) ของผู้ประกอบการ และเผยแพร่ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการไทยให้รับทราบและสามารถนําไปประยุกต์ใช้ต่อไป
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ประกอบการ SMEs ในภาคการผลิตและ/หรือบริการ ประกอบด้วย
- กลุ่มสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม
- กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม อุปกรณ์ประดับยนต์
- กลุ่มสินค้าเครื่องประดับ และอัญมณี
- กลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว
- กลุ่มสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป
- กลุ่มธุรกิจร้านอาหาร
- กลุ่มสินค้าผลไม้สดและผลไม้แปรรูป
- กลุ่มสินค้าเกษตร และเกษตรแปรรูป
- กลุ่มสินค้ายางพาราและสินค้าที่ทำจากยาง
- กลุ่มสินค้าพลาสติกและ สินค้าที่ทำด้วยพลาสติก
- กลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน
- ครีเอทีฟ สปาสมุนไพร
- เครื่องสำอาง เสื้อผ้าและแฟชั่น เครื่องประดับ และเฟรนไชส์
เอกสารประกอบ
PPT วิทยากร
- CV Ms.Jules Lambe
- Ms. Sona
- คุณโอฬาร วีระนนท์
- คุณธนพัต ทั่วไตรภพ
- คุณวิภาพร พูลเกษ
- ดร.ศุภธิดา พรหมพยัคฆ์
วันที่จัดกิจกรรม : วันอังคารที่ 8 กันยายน 2563
สถานที่จัดกิจกรรม : ณ ห้อง Mayfair ชั้น 11 โรงแรมเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ :
ชื่อ/นามสกุล นางสาวปิยนุช แตงชัยภูมิ
สำนัก นักบริหารโครงการ
โทรศัพท์ 0 2216 1894-7 #223 หรือ 08 9423 3069
ปิดรับลงทะเบียน 5 กันยายน 2563