อบรม

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ปริมณฑลทางความรู้ของอาหารอนาคตไทย” (Workshop on Horizons of Thailand’s Future Food)

ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจโลกมีทั้งความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความสลับซับซ้อน (Complexity) และความคลุมเครือ (Ambiguity) ซึ่งนิยมเรียกกันว่า VUCA World ทำให้ผู้ประกอบการเผชิญกับความท้าทายที่ต้องเร่งทำความเข้าใจและปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประกอบกับภาวะสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อต่อเนื่องหลายเดือน ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบทางการเกษตรที่นำมาใช้ประกอบอาหารปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหลายประเทศมีนโยบายปกป้องตัวเองเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร (Food Protectionism) รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้บริโภคคำนึงถึงเรื่องอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพเป็นสำคัญ อีกทั้งเทคโนโลยียังเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการพัฒนาเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับการดำรงชีวิตของมนุษย์

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิต มนุษย์ส่วนใหญ่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในระยะเวลา 7-10 วันเท่านั้น โดยปราศจากอาหารหล่อเลี้ยงร่างกาย ขณะที่ “วิกฤตอาหารโลก” (Global Food Crisis) เป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้เปิดเผยข้อมูลให้เห็นถึงวิกฤตราคาอาหารแพงทั่วโลก จากรายงาน (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) ระบุว่า ดัชนีราคาอาหาร (Food Price Index) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการเปลี่ยนแปลงรายเดือนของสินค้าอาหารและโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อขายมากที่สุดทั่วโลก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อสัตว์ น้ำมันพืช และน้ำตาล มีค่าเฉลี่ยในเดือนธันวาคม 2564 อยู่ที่ 133.7 จากระดับ 134.9 เทียบกับเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ซึ่งถือเป็นเดือนที่ 4 ที่ดัชนีเพิ่มสูงขึ้น และยังเป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี ทำให้นวัตกรรม “อาหารแห่งอนาคต” (Future Food) เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างแหล่งอาหารใหม่ ที่เพิ่มผลผลิตได้เร็วกว่า ใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงน้อยกว่าการทำปศุสัตว์แบบเก่า ลดทรัพยากรอาหารในการเลี้ยงดู ที่สำคัญยังให้คุณค่าทางโภชนาการสูงและดีต่อความยั่งยืนของโลก เพราะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดการสร้างขยะเหลือทิ้ง (Zero Waste) จากกระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

ทั้งนี้ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) เห็นถึงความสำคัญของปัญหาและวิธีการที่จะช่วยเพิ่มกลยุทธ์ โดยมุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพและต้องการทราบแนวโน้ม ประเด็นอุบัติใหม่ และปัจจัยขับเคลื่อน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างฉากทัศน์ ที่สามารถแสดงข้อมูลการตลาดเชิงลึก อันเป็นข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจสำหรับ MSMEs ในอุตสาหกรรมอาหารที่ไทยมีความสามารถในการแข่งขัน และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศได้สูง รวมทั้งความต้องการ (Demand) ของตลาดโลกยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเกิดหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Strategic Partner) ที่ได้รวมกลุ่มผู้ประกอบการในการผลิตอาหารอนาคต (Future Food) เป็น “สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย” และหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของไทยที่พร้อมสนับสนุน จึงได้เล็งเห็นศักยภาพจากการส่งออกอาหารอนาคต ประกอบกับในการศึกษาภาพอนาคตด้านการค้าและการพัฒนานั้น เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญจากผู้ที่มีประสบการณ์ในวงการด้านการค้าอาหารอนาคต ดังนั้น โครงการศูนย์อนาคตศึกษาและข่าวกรองทางการค้าเพื่อการพัฒนา MSMEs ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จึงเห็นว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำภาพอนาคตด้านการค้าอาหารอนาคตไทย โดยเฉพาะกลุ่ม MSMEs เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้ด้านการตลาด การค้า และการพัฒนาที่นำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนต่อไป

 

วันที่จัดกิจกรรม

วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2566
เวลา 9.00 – 16.00 น.

ณ ห้อง ห้อง The Lounge ชั้น 10 โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร

 

ผู้รับผิดชอบ

นางสาวญาณิศา เรืองรัตน์อรุณ
นักวิชาการ

เบอร์ติดต่อ:  022 216 1894-7 ต่อ 223

การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ปริมณฑลทางความรู้ของอาหารอนาคตไทย” (Workshop on Horizons of Thailand’s Future Food)

calendar 4 สิงหาคม 2566

time 09:00 - 16:00 น.

loation The Berkeley Hotel Pratunam Bangkok

กิจกรรมนี้ได้ปิดการสำรองที่นั่งแล้ว
itd-logo-detail
เกี่ยวกับผู้จัดกิจกรรม
International Institute For Trade And Development
view 989

calendar - 4 สิงหาคม 2566

time 09:00 - 16:00 น.

loation The Berkeley Hotel Pratunam Bangkok

ติดต่อผู้จัดกิจกรรม

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา

0 2215 1894

https://www.itd.or.th

กิจกรรมที่น่าสนใจ

Top