หลักการและเหตุผล
การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศนั้นมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาและสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และเนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของบริบทการค้าและการลงทุนของโลกจากการเปลี่ยนแปลงของบริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปที่มีนโยบายและมาตรการลดต้นทุนโดยย้ายถิ่นฐานการผลิตไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ในโลก รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มหลังของโลก (Global Mega-Trend) ที่ส่งผลกระทบการผลิต การค้าและการลงทุนโลกซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่คุณค่าโลก (Global Value Chains: GVCs) ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่คุณค่าโลก และเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียและอาเซียนอย่างลีกเลี่ยงไม่ได้
ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ก็เป็นความหวังในการสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การเกิดโมเดลทางธุรกิจและนวัตกรรม รวมไปถึงการจ้างแรงงานเพิ่มในอนาคต บริษัทหลายแห่งทั้งในธุรกิจรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า และพลังงานทางเลือกได้เริ่มออกตัวแล้วกับเศรษฐกิจหมุนเวียน และเริ่มเห็นผลของการลดต้นทุน การเพิ่มรายได้ ความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น และประสิทธิภาพเชิงนิเวศที่สูงขึ้น
ซึ่ง 7 เสาหลักของเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สำคัญ ประกอบด้วย 1) วัตถุดิบถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
2) พลังงานที่นำมาใช้ ต้องมาจากทรัพยากรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ 3) รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ 4) อนุรักษ์วัฒนธรรมและชุมชน 5) ไม่ทำร้าย ความเป็นอยู่และสุขภาพของทุกสปีซีส์ 6) ไม่ได้วัดทุกอย่างด้วยตัวเลข แต่วัดด้วยคุณค่าทางจิตใจ 7) ระบบทุกอย่างต้องปรับเปลี่ยนได้ จะให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภคด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ที่ทำให้การใช้ทรัพยากรเกิดการหมุนเวียน มีประสิทธิภาพจึงกลายเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนระบบผลิตทางตรง (Linear Economy: Make-Use-Dispose) เป็นระบบผลิตแบบหมุนเวียน (Circular Economy: Make-Use-Return) ซึ่งเป็นพื้นฐานของการผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียนในภาพรวมได้ในที่สุดและเกิดการตระหนักถึงกรอบเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่จะก่อให้เกิดผลกระทบในประเด็นต่างๆ อีกด้วย
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจถึงกรอบนโยบายและประเมินโอกาสและผลกระทบจากกรอบการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่สำคัญในภูมิภาคและอนุภูมิภาค
- เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมต่อการพัฒนารูปแบบและแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของธุรกิจพื่อสร้างคุณค่าสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อและเกิดความสอดคล้องในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่
- เพื่อนำองค์ความรู้จากผลการศึกษาวิจัยที่สถาบันได้จัดทำขึ้นมาใช้ประกอบการจัดทำเนื้อหา/สาระสำคัญของข้อมูลการอบรมให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่
- เรื่อง การประเมินผลกระทบของนโยบายการค้าระหว่างประเทศเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและการเติบโตอย่างสมดุลของประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
- เรื่อง การประเมินนโยบายการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนตามกรอบนโยบายการลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- เรื่อง การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศสมาชิกอาเซียนสู่ความเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าโลก (Global Value Chain)
- เรื่อง Global Value Chain in Circular Economy
กลุ่มเป้าหมาย
บุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาและวิชาการ ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ และนักลงทุน จำนวน 40 คน
กำหนดการ
วันที่จัดกิจกรรม
-
- 20 – 21 พฤษภาคม 2564
สถานที่จัดกิจกรรม อบรมในระบบออนไลน์ Webex
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ/นามสกุล นายวัชฤทธิ์ บำรุงพงศ์
สำนัก พัฒนาขีดความสามารถทางการค้าและการพัฒนา
โทรศัพท์ 02 215 1894 ต่อ 224