ประวัติความเป็นมา
แนวคิดที่จะจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนามีความริเริ่มมาจาก ฯพณฯ รูเบนส์ ริคูเปโร เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด ซึ่งแนวคิดดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากแรงจูงใจที่จะสนองตอบขอบคุณรัฐบาลไทยอย่างเป็นรูปธรรม ในฐานะที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพของการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีของอังค์ถัดครั้งที่ 10 ขึ้นที่ กรุงเทพฯ รวมทั้งเป็นความปรารถนาส่วนตัวมาช้านานของ ฯพณฯ ริคูเปโรที่ต้องการจะให้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่ยั่งยืนถาวรและเป็นแหล่งแพร่กระจายความรู้เพื่อการพัฒนาที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย
ดังนั้น เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1997 ฯพณฯ รูเบนส์ ริคูเปโร ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี โดยมีคณะรัฐมนตรีอาวุโสในสมัยนั้นร่วมด้วย วัตถุประสงค์ ได้แก่ การวางแผนจัดการประชุมอังค์ถัด 10 และในโอกาสนั้นเลขาธิการอังค์ถัดได้นำเสนอแผนงานการจัดตั้งองค์กรขึ้นซึ่งในชั้นนั้นเรียกว่าสถาบันเพื่อการพัฒนา (Institute of Development) และรัฐบาลไทยยินดีที่จะรับข้อเสนอนี้ หลังจากนั้นจึงเปิดเวทีการเจรจาขึ้นระหว่างอังค์ถัดกับผู้แทนรัฐบาลไทยต่อมาเป็นระยะเพื่อจัดทำความตกลงร่วมมือกัน จนปรากฏผลเป็นสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
รัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 นับเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้แทนระดับสูงจากประเทศสมาชิกอังค์ถัดทั้ง 190 ประเทศและผู้แทนกว่าร้อยคนจากองค์กรระหว่างประเทศและองค์กรพัฒนาเอกชน ได้แลกเปลี่ยนทัศนะและความคิดเห็น ภายใต้หัวข้อ “ยุทธศาสตร์การพัฒนากับการนำบทเรียนในอดีตมาปรับเปลี่ยนกระแสโลกาภิวัตน์ให้เป็นโอกาสที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศและมวลประชากรโลก” ประเทศสมาชิกและกลุ่มพันธมิตรเพื่อการพัฒนาได้ร่วมกันรับรองเอกสารการประชุมในครั้งนี้ 2 ฉบับ ได้แก่ ปฏิญญากรุงเทพฯ และ แผนปฏิบัติการกรุงเทพฯ ซึ่งได้กล่าวเน้นถึงความจำเป็นสำหรับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่พยายามผลักดันให้มีการเจรจาอย่างเปิดเผย และให้ประเทศต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในระบบการเงิน การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ และการบูรณาการเข้าสู่เศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ เอกสารดังกล่าวยังเรียกร้องให้มีการแก้ไขความขาดสมดุลย์และไม่สมมาตรที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างระเบียบของโลกขึ้นใหม่ที่มีการแบ่งสรรผลประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัตน์ให้เป็นธรรมยิ่งขึ้นในอนาคต
การหารือกันเพื่อจัดตั้งสถาบันฯ ใหม่สัมฤทธิ์ผลในบริบทดังกล่าวด้วยการลงนามในความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาขึ้นในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 โดย ฯพณฯ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามแทนรัฐบาลไทย และ ฯพณฯ รูเบนส์ ริคูเปโร เลขาธิการอังค์ถัดเป็นผู้ลงนามแทนสหประชาชาติ การลงนามในความตกลงนี้ถือเป็นจุดเด่นของการประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 10 และเป็นสิ่งที่ ฯพณฯ ริคูเปโร ถือว่าเป็นรูปธรรมหนึ่งของการประชุมที่จะยั่งยืนอยู่สืบไป สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2544 และ ได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม 2545 ประเทศต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในระบบการเงิน การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ และการบูรณาการเข้าสู่เศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ เอกสารดังกล่าวยังเรียกร้องให้มีการแก้ไขความขาดสมดุลย์และไม่สมมาตรที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างระเบียบของโลกขึ้นใหม่ที่มีการแบ่งสรรผลประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัตน์ให้เป็นธรรมยิ่งขึ้นในอนาคต
การจัดตั้ง
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2544 และ ได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม 2545 ประเทศต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในระบบการเงิน การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ และการบูรณาการเข้าสู่เศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ เอกสารดังกล่าวยังเรียกร้องให้มีการแก้ไขความขาดสมดุลย์และไม่สมมาตรที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างระเบียบของโลกขึ้นใหม่ที่มีการแบ่งสรรผลประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัตน์ให้เป็นธรรมยิ่งขึ้นในอนาคต สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายของรัฐบาลไทยโดยมีสถานะเป็นองค์การมหาชน สถาบันฯดำเนินงานโดยอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลไทย อังค์ถัด องค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ และองค์กรระดับภูมิภาค