บทความวิชาการ
view 252 facebook twitter mail

สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของอาเซียน

เกี่ยวกับเอกสาร

ธนาคารโลก (World Bank) และสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้วิเคราะห์แนวโน้มและพัฒนาการด้านความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ (Economic Inequality) ของบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งรายงานในปี 2555 ระบุว่า กลุ่มประเทศอาเซียนกำลังเผชิญกับแนวโน้มสำคัญ 2 ประการ กล่าวคือ อาเซียนมีความมั่งคั่งที่สูงขึ้น และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกมีแนวโน้มลดลง แม้ว่าช่องว่างระหว่างกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่อหัวประชากรในระดับสูงและต่ำ จะยังคงอยู่ในระดับสูง กล่าวคือ กลุ่มประเทศรายได้สูงมีรายได้ต่อหัวประชากรสูงกว่ากลุ่มประเทศรายได้ต่ำถึงประมาณ 15 เท่า แต่ช่องว่างดังกล่าวได้ทยอยลดความถ่างลงเรื่อยมาในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม แนวโน้มอีกประการที่ต้องตระหนักและหาแนวทางแก้ไขต่อไปคือ ความเหลื่อมล้ำภายในประเทศของสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศกลับมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงจะประสบกับปัญหามากกว่ากลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำกว่า สิ่งนี้เป็นนัยแสดงว่า กลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงมีการเพิ่มขึ้นของรายได้ในอัตราเร่งที่สูงกว่าประเทศสมาชิกอื่นๆ : ปีที่พิมพ์ 2557

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

view 252 facebook twitter mail
Top